หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

ระวัง!!! “จอดำมรณะ” บน Windows 7



ผู้ใช้ Windows 7 จำนวนหนึ่งเริ่มไม่พอใจที่จู่ๆ คอมพิวเตอร์ของพวกเขาก็ปิดตาย (lock up) ตัวเองด้วยการแสดงหน้าจอดำสนิท ซึ่งอาการดังกล่าวเรียกว่า Black Screen of Death คนละอาการกับ Blue Screen of Death (BSOD) ที่เราคุ้นเคย โดยอาการดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ได้มีการอัพเดตแพตช์เมื่อวันอังคารที่ 10 พฤศจิกายนทีผ่านมา

ล่าสุดทางไมโครซอฟท์ได้รับแจ้งปัญหา”จอดำมรณะ”ทีเกิดขึ้นกับผู้ใช้เรียบร้อย แล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ยืนยัน หรือปฏิเสธปัญหาที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด เพียงแต่บอกว่า ขณะนี้ทางบริษัทกำลังตรวจสอบว่า อัพเดตล่าสุดเป็นตัวการที่ทำให้เกิดปัญหากับลูกค้าบางราย หรือไม่? ซึ่งหากได้ข้อสรุปที่ชัดเจนแล้ว ทางบริษัทจะแจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีป้องกัน หรือชี้ชัดต้นตอของปัญหาให้ได้ทราบกันอีกที

สำหรับแพตช์ล่าสุดจะมีการเปลี่ยนแปลงการทำานของ Access Control List (ACL) ซึ่งเป็นรายการในการให้สิทธิ์กับผู้ใช้ที่ล็อกออนเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ (ในรีจิสทรี) ผลลัพธ์จากการแก้ไขการทำงานดังกล่าว ทำให้แอพพลิเคชันบางตัวที่ติดตั้งเข้าไปในเครื่องของผู้ใช้ก่อนหน้านี้ (โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ระบบรักษาความปลอดภัยต่างๆ) ซึ่งพวกมันจะไม่มีทางทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดข้อผิดพลาดของการทำงาน และอาจะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการ “จอดำมรณะ” ได้ในที่สุด ไมโครซอฟท์ตั้งใจที่จะปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยของวินโดวส์ แต่ผลลัพธ์กลับทำให้ระบบรักษาความปลอดภัยของผู้ใช้มีปัญหา จนพาให้ระบบล่มการทำงานในที่สุด

Prevx บริษัทผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบรักษาความปลอดภัยตังข้อสังเกตไว้ในบล็อกว่า “หลังจากอัพเดตแพตช์ และรีสตาร์ท Windows 7, Vista, XP, NT, W2K, W2K3 หรือ W2K8 บนพีซี หรือเซิร์ฟเว่อร์ ระบบจะสามารถทำงานได้ปกติดี จนกระทั่งล็อกออนเข้าไป ปรากฎว่า มันไม่แสดงเดสก์ทอป ทาสก์บาร์ ซิสเต็มเทรย หรือไซด์บาร์ให้เห็นแต่อย่างใด คงมีเพียงแค่หน้าจอดำสนิท กับหน้าต่าง Windows Explorer ค้างอยู่เท่านั้น ซึ่งบางทีมันก็ถูกมินิไมซ์จนทำให้อาจมองไม่เห็นได้” ในขณะที่ไมโครซอฟท์ยังไม่สรุปปัญหาที่พบ ทาง Prevx ได้ออกซอฟต์แวร์แก้ไขปัญหา (48.3KB) ที่เข้าไปแก้ไขรีจิสทรีให้เหมาะสม (สามารถเข้าไปแก้ไขโดยตรง โดยไม่ต้องใช้ซอฟต์แวร์ก็ได้) และสอดคล้องกับข้อกำหนดของ ACL เรียบร้อยแล้ว

ที่มา : ARiP.co.th

7 เหตุผลว่าทำไมแพลตฟอร์ม AMD จึงดีกว่ากับ Windows 7

7 เหตุผลว่าทำไมแพลตฟอร์ม AMD จึงดีกว่ากับ Windows 7
1. Go green with AMD: เอเอ็มดีและไมโครซอฟท์ (Microsoft) ร่วมกันพัฒนาไดรเวอร์ตัวใหม่ขึ้นมาเพื่อจัดการใช้พลังงานบนผลิตภัณฑ์ของเอ เอ็มดีโดยเฉพาะ ไดรเวอร์ดังกล่าวจะคอยควบคุมทั้งการใช้พลังงานและสมรรถนะของระบบ ซึ่งจะเพิ่มสมรรถนะของระบบให้สูงขึ้นเมื่อต้องการ และลดการใช้พลังงานลงเมื่ออุปกรณ์ไม่ได้มีการเรียกใช้งาน
2. Virtualization with ease: ซีพียูรุ่นใหม่ของเอเอ็มดีสนับสนุนโหมด Windows XP ใน Windows 7 นอกจากนี้เอเอ็มดียังมีการประสานงานกับทีมเวอร์ชวลไลเซชั่นของ Windows 7 เพื่อให้มั่นใจว่าแพลตฟอร์มของเอเอ็มดีจะมีสมรรถนะสูงสุดเมื่อใช้ร่วมกับ Windows 7
3. Upgradability and Scalability: จากการพัฒนาเทคโนโลยีร่วมมือกันของเอเอ็มดีกับไมโครซอฟท์ โดยลงลึกในรายละเอียดแพลตฟอร์มต่างๆ ของเอเอ็มดี เพื่อให้มั่นใจว่าแพลตฟอร์มของเอเอ็มดีทั้งปัจจุบันและอนาคตจะทำงานร่วมกับ Windows 7 ได้อย่างเต็มสมรรถนะและประสิทธิภาพ
4. Evergreen Christmas: Evergreen Series ของ ATI เป็นกราฟฟิกการ์ดรุ่นเดียวในขณะนี้ที่สนับสนุน Windows 7 DirectX 11 ล่าสุดมีเกมมากกว่า 20 เกมที่สนับสนุน DirectX 11 และกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา คอเกมตัวจริงที่กำลังรอสัมผัสประสบการณ์ DirectX 11 อย่างใจจดใจจ่อจะรับรู้ความบันเทิงเต็มรูปแบบของ ATI Evergreen Series วางตลาดในช่วงคริสต์มาสนี้
5. Harnessing that extra power: DirectX 11 Compute Shader เป็นอินเตอร์เฟซสำหรับโปรแกรมแอพพลิเคชั่นต่างๆ หรือ API ใหม่ใน Windows 7 ที่ดึงเอาพลังของ GPU มาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หมายความว่าโปรแกรมเมอร์สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จะนำคุณให้พบกับ ประสบการณ์ใหม่ที่เหนือกว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นการถอดรหัสวีดีโอ, ประสบการณ์เกมที่เหมือนจริง และเทคโนโลยีเอไอ (Artificial Intelligence)
6. Photostream from Facebook: ด้วย AMD Fusion Media Explorer คุณสามารถชมและจัดการกับรูปภาพได้อย่างง่ายดาย ไม่เฉพาะบนเดสก์ท็อปเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบน Facebook ด้วย
7. 64bit capability: AMD Athlon, Opteron, Neo และ Turion เป็นโปรเซสเซอร์ 64 บิต ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลว่าโปรเซสเซอร์ที่คุณซื้อไปจะไม่สนับสนุน Windows 7 64bit วันนี้ AMD คือผู้ที่พร้อมที่สุดสำหรับ Windows 7

วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

Nokia X6 16GB-Touch. Play. Come get entertrainment



Nokia X6 16GB
- Touch. Play. Come get entertrainment -

*เปิดตัวครั้งแรก 27 มกราคม 2010 (สยามโฟนฯ)
*ออกวางจำหน่าย ไตรมาสที่ 1 ปี 2010 (กุมภาพันธ์ 53)
*เปิดตัว ราคา 14,900 (กุมภาพันธ์ 53)
ข้อมูลตัวเครื่อง (Spec)
*ระบบ Quadband (GSM 850/900/1800/1900 MHz)- WCDMA 850/1900/2100 MHz หรือ 900/1900/2100 MHz, HSDPA 3.6 Mbps
*จอสัมผัส 16.7 ล้านสี
- 640 x 360 พิกเซล (3.2")
- ระบบจดจำลายมือ (Handwriting recognition)
- ระบบหมุนภาพอัตโนมัติ (Accelerometer sensor)
- Ambient light sensor : ปรับแสงสว่างของไฟหน้าจออัตโนมัติ
*ระบบปฏิบัติการ : Symbian OS
- เวอร์ชั่น 9.4 S60 5 edition
*เสียงเรียกเข้า 3D, Video, MP3, 64 Polyphonic
- ระบบสั่น (Vibration in Phone)
*หน่วยประมวลผล 433.9 MHz (Processor)
หน่วยความจำ 16 กิ๊กกะไบต์ (ตัวเครื่อง)
*คุณสมบัติเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม
- ผลิตจากวัสดุที่ปราศจาก PVC
- อุปกรณ์นำกลับไปรีไซเคิลได้สูงสุด 80 เปอร์เซ็นต์
- บรรจุภัณฑ์ทำจากวัสดุรีไซเคิล 60 เปอร์เซ็นต์ และนำกลับไปรีไซเคิลได้สูงสุด 100 เปอร์เซ็นต์
*มี 3 สีให้เลือก : ดำ (Black), ขาว/ชมพู (White/Pink), ขาว/เหลือง (White/Yellow)


ระบบเชื่อมต่อ (Connectivity)
*ส่งผ่านข้อมูล (Data Transfer)
- WiFi 802.11b/g, WLAN (Wireless LAN)
- บลูทูธ Bluetooth™ v2.0 , USB v2.0 (Micro-USB), TV Out
- รองรับชุดหูฟังสเตอริโอ (A2DP Bluetooth™ stereo sound) - สนับสนุน MTP (Mobile Transfer Protocol)
*ใช้งานอินเตอร์เน็ต HTML, xHTML, WML, WAP 2.0 Browser
- รองรับบราวเซอร์ OSS v7.0 (Web Browser)
- สนับสนุน JavaScript
- รองรับ Nokia Mobile Search
- รองรับ Flash Lite เวอร์ชั่น 3.0
*รับ-ส่งข้อความ (Messaging)
- อีเมล์ Email (IMAP/POP/SMTP), MMS, SMS
- ข้อความคลิปเสียง Nokia Xpress Audio
- ข้อความแชท (Instant Messaging)
- Ovi Contacts
- รองรับการใช้งาน Ovi Share ผ่าน 3G-HSPA, CSD, HSCSD, EDGE, GPRS Multi Slot Class 32
*รองรับ จาวาแอพลิเคชั่น - Java MIDP 2.0

จุดเด่น (Feature)
*ระบบดาวเทียม ค้นหาตำแหน่ง (Build-In A-GPS navigation)
- รองรับแอพพลิเคชั่น Nokia Ovi Maps 3.0
*กล้องดิจิตอล 5 ล้านพิกเซล พร้อมแฟลช (Carl Zeiss optics)
- ขนาดภาพสูงสุด 2592x1944 พิกเซล (Image size)
- ซูมดิจิตอล 4 เท่า (4x Digital zoom)
- ระบบปรับโฟกัสภาพอัตโนมัติ (Autofocus)
- โหมดการใช้แฟลช: เปิด, ปิด, ลดการสะท้อนตาแดง
- ปรับสมดุลแสดงสีขาว (White balance) : Automatic, Sunny, Cloudy, Incandescent, Fluorescent
- โหมดฉาก (Auto, User defined, Portrait, Landscape, Night, Night portrait)
- ปรับโทนสีภาพ : Normal, Sepia, Negative, Black & White, Vivid
- ค่าชดเชยแสง EV -2 ถึง 2
- ตั้งเวลาถ่ายภาพอัตโนมัติ (Self-timer)
- สั่งพิมพ์ภาพโดยตรง (PictBridge)
*กล้องตัวที่สอง Video Call สนทนาแบบเห็นภาพ
- บันทึกวีดีโอ ความละเอียด 176 x 144 พิกเซล , 15 เฟรมต่อวินาที
*บันทึกวีดีโอ ภาพเคลื่อนไหว (Video recording)
- ความละเอียด 640 x 480 พิกเซล, 30 เฟรมต่อวินาที
- ความละเอียด 640 x 352 พิกเซล, 30 เฟรมต่อวินาที
- ความละเอียด 320 x 240 พิกเซล, 15 หรือ 30 เฟรมต่อวินาที
- ความละเอียด 176 x 144 พิกเซล, 15 เฟรมต่อวินาที
- ซูมดิจิตอล 4 เท่า (4x Digital zoom)
- ระยะเวลาในการบันทึก 90 นาที
- ปรับสมดุลแสดงสีขาว (White balance) : Automatic, Sunny, Cloudy, Incandescent, Fluorescent
- โหมดฉาก : อัตโนมัติ, กลางคืน
- ปรับโทนสีภาพ : Normal, Greyscale, Sepia, Negative, Solarise
- บันทึกวิดีโอในรูปแบบไฟล์ : MPEG4, 3GP
- โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ (Video Editor)
*เครื่องเล่นวีดีโอ (RealPlayer) : WMV, MP4, 3GP
- วีดีโอสตรีมมิ่ง ความละเอียด 176 x 144 พิกเซล : 3GPP
*เครื่องเล่นเพลง (Music Player)
- รองรับไฟล์เสียง : MP3, SPMidi, AAC, AAC+, eAAC+ และ WMA
*วิทยุ FM Stereo
*ช่องเสียงชุดหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร
*สนทนาพร้อมกัน สูงสุด 6 สาย (Conference calling)
*แฮนด์ฟรีในตัว (Build-in Handsfree)
*คำสั่งเสียง, โทรออก (Voice function)
*เครื่องบันทึกเสียง (Voice Recorder)

- รองรับไฟล์เสียง : AMR, NB-AMR, FR, EFR
*เครื่องคิดเลข, ปฏิทิน, สิ่งที่ต้องทำ, แปลงหน่วย, นาฬิกาปลุก, จดบันทึก, นาฬิกา
*เกมส์ : Spore, D Mix Tour, Asphalt4
*Flight mode

- ใช้งานเครื่องโดยไม่เปิดสัญญาณโทรศัพท์

การใช้งานของแบตเตอรี่
*แบตเตอรี่มาตรฐาน Li-Ion 1,320 mAh (BL-5J)
*เปิดรอรับสาย 420 ชั่วโมง (Standby Time)

- ระบบ WCDMA 450 ชั่วโมง
*สนทนาต่อเนื่อง 11 ชั่วโมง 30 นาที (Talk Time)
- ระบบ WCDMA 6 ชั่วโมง
*สนทนาผ่านกล้อง 3 ชั่วโมง (Video calling time)
*บันทึกวีดีโอต่อเนื่อง 3 ชั่วโมง 30 นาที (Video recording)
*เล่นวีดีโอต่อเนื่อง 4 ชั่วโมง 36 นาที (Video playback time)
*ฟังเพลงต่อเนื่อง 35 ชั่วโมง (Music playback time)

รายละเอียดจาก : http://www.siamphone.com/
ข้อมูลผู้ใช้ แสดงความเห็นกับ Nokia X6 16GB [PIC & VOTE]
รายละเอียด : Nokia Product Page [ENG SITE]
page="Nokia Page";

โทรศัพท์มือถือ BlackBerry - แบล็คเบอร์รี่ รุ่นเปิดตัวปี 2009

ข้อมูลทั่วไป BlackBerry Curve 8520 - แบล็คเบอร์รี่ Curve 8520

*เปิดตัวครั้งแรก 31 กรกฎาคม 2009 (สยามโฟนฯ)
*ออกวางจำหน่าย ไตรมาสที่ 4 ปี 2009 (ตุลาคม 52)
*ราคาเปิดตัวของโทรศัพท์ 13,900 บาท (ตุลาคม 52)

ข้อมูลตัวเครื่อง (Spec)
*ระบบ Quadband (GSM 850/900/1800/1900 MHz)
*จอแสดงผล TFT-LCD 65K สี - 320 x 240 พิกเซล (2.46")
*ปุ่มควบคุมทิศทาง ระบบสัมผัส (Trackpad Navigation)
....-แป้นพิมพ์ QWERTY ในตัว (Full QWERTY keyboard)
....-ปุ่มควบคุมเพลงด้านบน (Rewind, Play/Pause, Forward)
*เสียงเรียกเข้า MP3, WAV, SP-Midi, 32 Polyphonic
....-ระบบสั่น (Vibration in Phone)
....-หลอดไฟกระพริบ (LED indicator)
*หน่วยความจำ 256 เมกะไบต์ (ตัวเครื่อง)
....-การ์ดหน่วยความจำ microSD - สูงสุด 16 GB

ระบบเชื่อมต่อและส่งข้อมูล (Connectivity)
*ส่งผ่านข้อมูล (Data Transfer)
- WiFi 802.11b/g, WLAN (Wireless LAN)
- บลูทูธ Bluetooth™ v2.0 , micro-USB
- รองรับชุดหูฟังสเตอริโอ (A2DP Bluetooth™ stereo sound)
*ใช้งานอินเตอร์เน็ต xHTML, WAP 2.0 Browser
- สนับสนุน Flickr™, Facebook®, MySpace®
*รับ-ส่งข้อความ (Messaging)
- อีเมล์ Email, MMS, SMS ผ่าน EDGE, GPRS
- ข้อความแชท (BlackBerry Messenger, Windows Live Messenger, Yahoo! Messenger, Google Talk)
*รองรับ จาวาแอพลิเคชั่น
- Java MIDP 2.0

จุดเด่นและคุณสมบัติพิเศษ (Feature)
*กล้องดิจิตอล 2 ล้านพิกเซล (Digital Camera)
- ขนาดภาพสูงสุด 1600x1200 พิกเซล (Image size)
- ซูมดิจิตอล 5 เท่า (5x Digital zoom)
- สมดุลแสง (อัตโนมัติ, แดดจัด, ฟ้าครึ้ม, กลางคืน, หลอดไฟทังสเตน และ ฟลูออเรสเซนต์)
*บันทึกภาพวีดีโอ พร้อมเครื่องเล่น (Video recording & Playback)
- ขนาดวีดีโอ 320 x 240 พิกเซล , 15 เฟรมต่อวินาที
*เครื่องเล่นวีดีโอ MPEG4, H.263, H.264, WMV3
*เครื่องเล่นเพลง MP3, AAC-LC, AAC+, eAAC+, AMR-NB, AAC-LC, WMA9 (.wma/.asf), WMA9 PRO/WMA 10
*ช่องเสียบชุดหูฟัง ขนาด 3.5 มิลลิเมตร
*รองรับรูปภาพ BMP, JPG, PNG, TIF, WBMP
*คำสั่งเสียง, โทรออก, บันทึกเสียง (Voice function)
*แฮนด์ฟรีในตัว (Build-in Handsfree)
*ระบบความปลอดภัย : รหัสผ่าน, ล็อคปุ่มกด, โหมดพักหน้าจอ
*โปรแกรมอ่านงานเอกสาร (Microsoft® Word, Excel, PowerPoint)

การใช้งานของแบตเตอรี่
*แบตเตอรี่มาตรฐาน Li-Ion 1,150 mAh (Standard Battery)
*เปิดรอรับสาย 17 วัน (Standby Time)
*สนทนาต่อเนื่อง 4.5 ชั่วโมง (Talk Time)

ข้อมูลจาก http://www.siamphone.com

*-***3G***-*

3G คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือมาตรฐาน IMT-2000 นั้นนิยามสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า
“ต้องมี แพลทฟอร์ม (Platform) สำหรับการหลอมรวมของบริการต่างๆ อาทิ กิจการประจำที่ (Fixed Service) กิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) บริการสื่อสารเสียง ข้อมูล อินเทอร์เน็ต และ พหุสื่อ (Multimedia) เป็นไปในทิศทางเดียวกัน” คือ สามารถถ่ายเท ส่งต่อข้อมูล ดิจิตอล ไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆ ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้

“ความสามารถในการใช้โครงข่ายทั่วโลก (Global Roaming) ” คือ ผู้บริโภคสามารถ ถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง

“บริการที่ไม่ขาดตอน (Seamless Delivery Service) ” คือ การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยน เซลล์ไซต์ (Cell Site) เขาใช้คำว่า Seam less นั้นแปลว่า ไร้รอยตะเข็บนะครับ

อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Transmission Rate) ในมาตรฐาน IMT-2000 นั้นกำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราความเร็วดังนี้
-ในสภาวะอยู่กับที่หรือขณะเดิน มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 2 เมกะบิต/วินาที
-ในสภาวะเคลื่อนที่โดยยานพาหนะ มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 384 กิโลบิต/วินาที
-ทุกสภาวะ มีความเร็วอย่างมากที่สุด 14.4 เมกะบิต/วินาที

จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี 3G
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (Third Generation Mobile Network หรือ 3G) เป็นเทคโนโลยียุคถัดมาจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 หรือ 2G ซึ่งประสบความสำเร็จในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจสื่อสารไร้สายอย่างมหาศาลนับตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ในยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G มีมาตรฐานที่สำคัญที่มีการนิยมใช้งานทั่วโลกอยู่ 2 มาตรฐาน กล่าวคือมาตรฐาน GSM (Global System for Mobile Communication) อันเป็นมาตรฐานของกลุ่มสหภาพยุโรป ปัจจุบันมีส่วนแบ่งทางการตลาดทั่วโลกสูงที่สุด และมาตรฐาน CDMA (Code Division Multiple Access) อันเป็นมาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่สอง

จุดมุ่งหมายของการพัฒนามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ขึ้น ก็เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานระบบสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล (Personal Communication) ในลักษณะไร้พรมแดน (Global Communication) โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถนำเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้งานในที่ใด ๆ ก็ได้ทั่วโลกที่มีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าว และยังเป็นยุคของการนำมาตรฐานสื่อสารแบบดิจิตอลสมบูรณ์แบบมาใช้รักษาความปลอดภัย และเสริมประสิทธิภาพในการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบริการส่งข้อความแบบสั้น (Short Message Service หรือ SMS) และการเริ่มต้นของยุคสื่อสารข้อมูลผ่านเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นครั้งแรก โดยมาตรฐาน GSM และ CDMA ตอบสนองความต้องการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงสุด 9,600 บิตต่อวินาที ซึ่งถือว่าเพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราเร็วของการสื่อสารผ่านโมเด็มในเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเมื่อกว่าสิบปีก่อน
การตอบรับของกลุ่มผู้บริโภคบริการสื่อสารไร้สายทั่วโลก ทำให้มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการณ์ทั่วโลกอย่างมหาศาล ก่อให้เกิดการเปิดสัมปทานและนำมาซึ่งการแข่งขันอย่างรุนแรงในแทบทุกประเทศ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนอกจากจะมีผลทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนของผู้ใช้บริการอย่างก้าวกระโดดแล้ว ในขณะเดียวกันยังสร้างผลกระทบต่อรายได้โดยเฉลี่ยต่อเลขหมาย (Average Revenue per User หรือ ARPU) ของผู้ให้บริการเครือข่าย อันเนื่องมาจากการกลยุทธ์การแข่งขันด้านราคา ยิ่งเมื่อมีการเปิดตัวบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพร้อมใช้ (Prepaid Subscriber) ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ก็ทำให้เกิดการลดถอยของ ARPU ลงอย่างต่อเนื่อง พร้อม กับปัญหาผู้ใช้บริการย้ายค่าย (Brand Switching) ที่รุนแรงขึ้น

เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตราสินค้าและยังเป็นการสร้างรายได้เพิ่มเพื่อชดเชย ARPU ที่ลดต่ำลง เนื่องจากปรากฏการณ์อิ่มตัวของบริการสื่อสารด้วยเสียง (Voice Service) ผู้ประกอบการในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกจึงมีความเห็นตรงกันที่จะสร้างบริการสื่อสารไร้สายรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้น โดยพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ที่เปิดใช้งานอยู่ ให้มีศักยภาพเพิ่มเติมเพื่อรองรับบริการสื่อสารข้อมูลแบบที่มิใช่เสียง (Non-Voice Communication) พร้อมกับการวางแผนธุรกิจ แผนปฏิบัติการทางวิศวกรรม การตลาด และแผนการลงทุน เพื่อสร้างกระแสความต้องการ (Demand Aggregation) ให้กับฐานลูกค้าผู้ใช้บริการที่มีอยู่เดิม เพื่อเพิ่ม ARPU ให้สูงขึ้น พร้อม ๆ กับผลักดันให้เกิดบริการรูปแบบใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับส่งข้อมูลแบบ EMS (Enhanced Messaging Service) หรือ MMS (Multimedia Messaging Service) รวมถึงบริการท่องโลกอินเทอร์เน็ตไร้สายผ่านอุปกรณ์สื่อสารรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งมีทั้งที่เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่ว ๆ ไป อุปกรณ์ไร้สายประเภท PDA (Personal Digital Assistant) และโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะ (Smart Phone)

เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ที่ได้มีการลงทุนไว้แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด มาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบใหม่ ๆ จึงถูกกำหนดขึ้น ภายใต้แนวคิดในการพัฒนาเครือข่ายเดิม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี HSCSD (High Speed Circuit Switching Data), GPRS (General Packet Radio Service) หรือ EDGE (Enhanced Data Rate for GPRS Evolution) ของค่าย GSM และเทคโนโลยี cdma20001xEV-DV หรือ cdma20001xEV-DO ของค่าย CDMA ดังแสดงพัฒนาการในรูปที่ 1 เรียกมาตรฐานต่อยอดดังกล่าวโดยรวมว่า เทคโนโลยียุค 2.5G/2.75G ซึ่งในช่วงเวลานี้เองที่ปรากฏมีมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ PDC (Packet Digital Cellular) เปิดให้บริการสื่อสารข้อมูลในลักษณะของเทคโนโลยี 2.5G ภายใต้ชื่อเครื่องหมายการค้า i-mode ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในการเปิดศักราชของการให้บริการสื่อสารข้อมูลแบบมัลติมีเดียไร้สายในประเทศญี่ปุ่น และได้กลายเป็นต้นแบบของการจัดทำธุรกิจ Non-Voice ให้กับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกในเวลาต่อมา
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G
เพื่อเป็นการเพิ่มความคล่องตัวในการเปิดให้บริการ Non-Voice อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมทั้งยังคงรักษาคุณภาพในการให้บริการ Voice ด้วยระดับคุณภาพที่ทัดเทียมหรือดีกว่าในยุค 2G องค์กรสากล 3GPP (Third Generation Program Partnership) และ 3GPP2 จึงได้กำหนดมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ขึ้น โดยมีมาตรฐานสำคัญอยู่ 2 ประเภท คือ

มาตรฐาน UMTS (Universal Mobile Telecommunications Services) เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้นำไปพัฒนาจากยุค 2G/2.5G/2.75G ไปสู่มาตรฐานยุค 3G อย่างเต็มตัว รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP มีเทคโนโลยีหลักที่ปัจจุบันมีการยอมรับใช้งานทั่วโลกคือมาตรฐาน Wideband Code Division Multiple Access (W-CDMA) โดยในอนาคตจะมีการพัฒนาต่อเนื่องไปสู่มาตรฐาน HSDPA (High Speed Downlink Packet Access) ซึ่งรองรับการสื่อสารด้วยอัตราเร็วสูงถึง 14 เมกะบิตต่อวินาที หรือเร็วกว่าการสื่อสารแบบ 2.75G ถึง 36 เท่า มาตรฐาน W-CDMA นี้เองที่กิจการร่วมค้า ไทย - โมบาย กำลังจะดำเนินการพัฒนาเพื่อเปิดให้บริการภายในต้นปี พ.ศ. 2548 นอกจากจะเป็นเส้นทางในการพัฒนาสู่มาตรฐาน 3G ของบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM แล้ว มาตรฐาน W-CDMA ยังได้รับการยอมรับจากผู้ให้บริการรายใหญ่อย่างบริษัท NTT DoCoMo ผู้เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ I-mode ซึ่งใช้เทคโนโลยี PDC ให้เป็นมาตรฐาน 3G สำหรับใช้งานภายใต้เครื่องหมายการค่า “FOMA” โดยได้เปิดให้บริการในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา และปัจจุบัน W-CDMA ได้กลายเป็นเครือข่าย 3G ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มาตรฐาน cdma2000 เป็นการพัฒนาเครือข่าย CDMA ให้รองรับการสื่อสารในยุค 3G รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP2 มีเทคโนโลยีหลักคือ cdma2000-3xRTT ที่มีศักยภาพเทียบเท่ากับมาตรฐาน W-CDMA ของค่ายยุโรป แต่ปัจจุบันยังไม่มีกำหนดความพร้อมสำหรับให้บริการเชิงพาณิชย์ที่ชัดเจน สำหรับในประเทศไทย บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด เปิดให้บริการเฉพาะเครือข่าย cdma20001xEV-DO ซึ่งยังมีขีดความสามารถเทียบเท่าเครือข่าย 2.75G เท่านั้น

มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ W-CDMA ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้รองรับการสื่อสารแบบมัลติมีเดียสมบูรณ์แบบ โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสื่อสารชนิด TDMA ที่ปรากฏอยู่ในเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 2G/2.5G/2.75G ไปเป็นการสื่อสารแบบแพ็กเกตสวิทชิ่งเต็มรูปแบบ สามารถรองรับทั้งการสื่อสารทั้ง Voice และ Non-Voice โดยมีมาตรฐานการรองรับและควบคุมคุณภาพของข้อมูลที่สมบูรณ์แบบ อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล (Information Coding) จึงทำให้ผู้ให้บริการเครือข่าย 3G ก้าวพ้นจากข้อจำกัดในการบริหารจัดการข้อมูลประเภท Voice และ Non-Voice ดังที่ปรากฏอยู่ในมาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G ได้อย่างเด็ดขาด

อย่างไรก็ตามเพื่อให้เครือข่าย W-CDMA สามารถรองรับการสื่อสารข้อมูลได้อย่างเต็มรูปแบบ และให้เกิดความคล่องตัวในการจัดสรรทรัพยากรความถี่วิทยุ จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดย่านความถี่สำหรับใช้เปิดให้บริการ โดยเป็นไปตามแผนผังการจัดวางความถี่สากลทั่วโลกดังแสดงในรูปที่ 5 ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้ กิจการร่วมค้าไทย - โมบาย เป็นเพียงผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายเดียวในประเทศไทยที่สามารถเปิดให้บริการเครือข่าย 3G แบบ W-CDMA ได้ในทันที เนื่องจากมีสิทธิ์ใช้คลื่นความถี่วิทยุในย่าน 1965 – 1980 เมกะเฮิตรซ์ และ 2155 – 2170 เมกะเฮิตรซ์ ขณะที่ผู้ให้บริการเครือข่ายรายอื่น ๆ จำเป็นต้องยื่นคำร้องผ่านกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีเพื่อได้สิทธิ์ในการเปิดให้บริการ W-CDMA เป็นรายต่อไป

จุดเด่นของมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA

นอกจากมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีสถานีฐาน (Base Station Subsystem) จากยุค 2G ซึ่งใช้เทคโนโลยี TDMA เป็นการรับส่งข้อมูลในรูปแบบแพ็กเกตเพื่อความคล่องตัวในการจัดสรรทรัพยากรความถี่สำหรับให้บริการทั้งแบบ Voice และ Non-Voice อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด อันจะช่วยสร้างความรู้สึกให้กับผู้ใช้บริการ (End User Perception) ถึงความรวดเร็วในการสื่อสารข้อมูล และยังคงรักษาคุณภาพของการสนทนาที่เหนือกว่ามาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G แล้ว มาตรฐาน W-CDMA ยังมีความคล่องตัวในการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายข้อมูลที่อยู่ในโลกอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานการเชื่อมต่อต่าง ๆ สอดรับกับมาตรฐานของอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตทุกประการ ก่อให้เกิดการเปิดกว้างในรูปแบบของความร่วมมือกับพันธมิตรจำนวนมาก มีความคล่องตัวในการบันทึก จัดเก็บ และบริหารจัดการข้อมูลประเภทสื่อข้อมูล (Content) ต่าง ๆ

เมื่อทำการเปรียบเทียบเฉพาะด้านของอัตราเร็วในการสื่อสารข้อมูลดังแสดงในรูปที่ 6 จะเห็นว่ามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G นอกจากจะรองรับการสื่อสารข้อมูลที่รวดเร็วกว่ามาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G แล้ว ยังก่อให้เกิดการถือกำเนิดของบริการรูปแบบใหม่ ๆ ที่ไม่สามารถสร้างขึ้นบนเครือข่ายยุคในตระกูล 2G/2.5G/2.75G ได้ ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือบริการ Video Telephony และ Video Conference ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบเห็นหน้ากัน โดยเครือข่าย 3G จะทำการถ่ายทอดสดทั้งภาพและเสียงระหว่างคู่สนทนา โดยไม่เกิดความหน่วงหรือล่าช้าของข้อมูล บริการในลักษณะนี้จะกลายเป็น จุดขาย สำคัญประการหนึ่งของมาตรฐานการสื่อสารแบบ 3G ทั้งนี้เครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน ล้วนรองรับบริการ Video Telephony แล้วทั้งสิ้น จึงสามารถเปิดให้บริการดังกล่าวได้ในทันที

ข้อมูลจาก UMTS Forum ในรูปที่ 7 แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA เปรียบเทียบกับมาตรฐาน GSM โดยพิจารณาอัตราการเติบโตภายในช่วง 10 ไตรมาสแรก (2 ปีครึ่ง) หลังจากการเปิดให้บริการ GSM ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 เทียบกับ 10 ไตรมาสแรกหลังจากการเปิดให้บริการ W-CDMA ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 พบว่าเครือข่าย 3G แบบ W-CDMA มีอัตราการเติบโตที่สูงกว่ามาก มูลเหตุสำคัญมาจากแรงผลักดัน (Business Momentum) ที่ผู้ใช้บริการ 2.5G หรือ 2.75G รอคอยเครือข่ายสื่อสารไร้สายที่สามารถตอบสนองความต้องการในการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงอย่างแท้จริง อีกทั้งผู้ให้บริการเครือข่ายยังมีความคล่องตัวในการจัดสรรเครือข่ายในด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างบริการสื่อสารประเภท Non-Voice ที่ต้องพึ่งพาอัตราเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่สูงขึ้น นอกเหนือจากบริการ Non-Voice พื้นฐานอย่าง SMS และ EMS

กล่าวโดยสรุป ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้มาตรฐานเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA มีแนวโน้มของการประสบความสำเร็จทางธุรกิจที่รวดเร็วกว่ามาตรฐาน 2G จนถึง 2.75G นั้น สืบเนื่องมาจากการปฏิวัติรูปแบบของเทคโนโลยีเครือข่าย เพื่อตอบสนองรูปแบบการสร้างความร่วมมือทางธุรกิจให้ผลักดันบริการ Non-Voice อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้ UMTS Forum ได้กล่าวถึงจุดเด่นของมาตรฐาน W-CDMA ซึ่งจะนำความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการดังนี้ (เอกสาร Why the world has chosen W-CDMA : 24 September 2003)
1. เครือข่าย W-CDMA รับประกันคุณภาพในการรองรับข้อมูลแบบ Voice และ Non-Voice ในแง่ของผู้ใช้บริการจะรับรู้ได้ว่าคุณภาพเสียงจากการใช้งานเครือข่าย 3G ชัดเจนกว่าหรืออย่างน้อยเทียบเท่าการสนทนาผ่านเครือข่าย 2G ส่วนการรับส่งข้อมูลแบบ Non-Voice จะรับรู้ถึงอัตราเร็วในการสื่อสารที่สูงกว่าการใช้งานผ่านเครือข่าย 2.5G และ 2.75G มาก อันเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเครือข่าย และใช้ย่านความถี่ที่สูงขึ้น
2. W-CDMA เป็นมาตรฐานเปิด (Open Standard) ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยกลุ่ม 3GPP ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับผู้พัฒนามาตรฐาน GSM ทำให้ผู้ให้บริการ 3G สามารถเชื่อมต่อเครือข่าย 3G เข้าหากันได้ถึงขั้นอนุญาตให้มีการใช้งานข้ามเครือข่าย (Roaming) เช่นเดียวกับที่เป็นอยู่ในเครือข่ายยุค 2G นอกจากนั้นยังสามารถเชื่อมต่อเพื่อการใช้งานข้ามเครือข่ายกับมาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G ได้ในทันที โดยผู้ใช้บริการเพียงมีอุปกรณ์สื่อสารแบบ Dual Mode เท่านั้น ทำให้เกิดลู่ทางในการสร้างเครือข่าย W-CDMA เพื่อเปิดให้ผู้ประกอบการเครือข่ายรายอื่นได้ร่วมเข้าใช้บริการ ในลักษณะของ Mobile Virtual Network Operator (MVNO) เป็นรายได้ที่สำคัญนอกเหนือจากการให้บริการ 3G กับผู้ใช้บริการที่จดทะเบียนภายในเครือข่าย
3. มาตรฐาน W-CDMA เป็นมาตรฐานโลก ที่จะเข้ามาแทนที่เครือข่ายในตระกูล GSM เช่นเดียวกับเหตุการณ์ที่เครือข่าย GSM เข้ามาแทนที่เครือข่าย 1G เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว จึงเป็นการรับประกันถึงพัฒนาการที่มีอย่างต่อเนื่องในด้านต่าง ๆ การเร่งเปิดให้บริการ 3G จึงเปรียบได้กับการเร่งเข้าสู่ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยักษ์ใหญ่ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นในอดีต
4. พิจารณาเฉพาะการให้บริการแบบ Voice จะเห็นว่าการลงทุนสร้างเครือข่าย W-CDMA มีต้นทุนที่ต่ำกว่าการสร้างเครือข่าย GSM ถึงกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมาตรฐาน W-CDMA มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวให้ผู้ประกอบสามารถปรับเปลี่ยนทรัพยากรความถี่เพื่อรองรับ Voice และ Non-Voice ได้อย่างผสมผสาน ต่างจากการกำหนดทรัพยากรตายตัวในกรณีของเทคโนโลยี GSM
5. W-CDMA เป็นมาตรฐานสื่อสารไร้สายชนิดเดียวที่มีรูปแบบการทำงานแบบแถบความถี่กว้าง (Wideband) อันนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการสร้างพื้นที่ให้บริการที่กว้างใหญ่ ไปพร้อม ๆ กับความสะดวกในการเพิ่มขยายขีดความสามารถในการรองรับข้อมูลข่าวสาร ต่างจากเครือข่าย 2G โดยทั่วไปที่ปัจจุบันเริ่มประสบกับปัญหาการจัดสรรความถี่ที่ไม่เพียงพอต่อการขยายเครือข่าย เนื่องจากเป็นระบบแบบแถบความถี่แคบ (Narrow Band)
6. กลไกการทำงานภายในเครือข่าย W-CDMA เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะมาตรฐาน IETF (Internet Engineering Task Force) ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเปิดโอกาสให้พันธมิตรทางธุรกิจซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาโปรแกรมหรือบริการพิเศษต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้ทำการพัฒนาสร้างบริการผ่านอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย โดยใช้ทักษะความสามารถและความชำนาญที่มีอยู่ เป็นการกระตุ้นให้เกิดบริการประเภท Non-Voice ได้สารพัดรูปแบบ
7. มีแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถในรองรับการสื่อสารข้อมูลที่มีอัตราเร็วสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสู่มาตรฐาน HSDPA ที่รองรับการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วที่สูงมากถึง 14 เมกะบิตต่อวินาที ในขณะที่มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM ไม่สามารถพัฒนาให้รองรับการสื่อสารข้อมูลได้มากกว่าเทคโนโลยี EDGE ในปัจจุบัน ซึ่งรองรับข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็ว 384 กิโลบิตต่อวินาที และในความเป็นจริงก็ไม่สามารถเปิดให้บริการด้วยอัตราเร็วถึงระดับดังกล่าวได้ เนื่องจากจะทำให้สถานีไม่สามารถรองรับบริการ Voice ได้อีกต่อไป
8. ในอนาคตมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G มีทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจนในการรวมตัวกับมาตรฐานสื่อสารไร้สายชนิดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน Wireless LAN (IEEE802.11b/g) หรือ WiMAX (IEEE802.16d/e/e+) ทำให้ผู้ใช้บริการเครือข่ายไร้สายสามารถเคลื่อนย้ายไปใช้งานในเครือข่ายใด ๆ ก็ได้ตามความเหมาะสมทางภูมิประเทศ โดยยังคงได้รับการดูแลโดยผู้ให้บริการเครือข่าย 3G
ความสำคัญต่าง ๆ เหล่านี้เองที่เป็นแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM จำนวนมากทั่วโลก รวมนักลงทุนหน้าใหม่ ให้ความสำคัญสำหรับการแสวงหาสิทธิ์ในการเปิดให้บริการเครือข่าย 3G และมีแผนกำหนดเปิดให้บริการเทคโนโลยี W-CDMA ดังมีข้อมูลแสดงในรูปที่ 8 โดยเฉพาะยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อันดับต้น ๆ ของโลก 8 รายได้ตัดสินใจเลือกมาตรฐาน W-CDMA เป็นเทคโนโลยี 3G ดังแสดงในรูปที่ 9

ในท้ายที่สุด ความสมบูรณ์แบบในการรองรับธุรกิจ Non-Voice ของมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA จะช่วยผลักดันให้เกิดห่วงโซ่ธุรกิจที่สมบูรณ์แบบ ดังแสดงในรูปที่ 10 แม้จะมีความพยายามในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมภายในประเทศที่จะผลักดันให้เกิดการประสานผลประโยชน์อย่างลงตัวระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G/2.5G/2.75G กับผู้ประกอบการสื่อข้อมูลต่าง ๆ มาก่อนหน้านี้ แต่เนื่องจากข้อจำกัดของเครือข่ายในตระกูล GSM และ CDMA เองที่ไม่มีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะสร้างความประทับใจต่อผู้ใช้บริการ จึงทำให้เกิดการขาดช่วงของความสมดุลในการผสานผลประโยชน์ เมื่อพิจารณาจากความสำเร็จของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ FOMA ของบริษัท NTT DoCoMo ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA และประสบความสำเร็จในการดึงศักยภาพของเครือข่าย W-CDMA ให้เกื้อหนุนต่อความลงตัวสำหรับการร่วมมือในธุรกิจ Non-Voice ในประเทศญี่ปุ่นอย่างงดงาม ต่อเนื่องด้วยความคืบหน้าในการสานต่อโครงสร้างธุรกิจ Non-Voice ในประเทศจีนและอีกหลาย ๆ ประเทศ จึงสรุปได้ว่ามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA จะเป็นการเปิดประตูสู่ธุรกิจ Non-Voice ในประเทศไทยในอนาคตอันใกล้

บทความที่ได้รับความนิยม